เมนู

อรรถกถาปติสูตร



พึงทราบอธิบายในถปติสูตรที่ 6.
บทว่า อยู่อาศัยในหมู่บ้านส่วย ความว่า อยู่ในบ้านส่วยของตน.
บรรดาช่างไม้เหล่านั้น ช่างไม้ชื่อ อิสิทัตตะ เป็นพระโสดาบันพระสกทาคามี
มาก่อน เป็นผู้สันโดษในกาลทุกเมื่อ. บทว่า วางบุรุษไว้ในหนทาง
ความว่า ทราบว่า ทางเป็นที่เสด็จไปของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยประตูบ้าน
ของพวกช่างไม้เหล่านั้น เพราะฉะนั้น พวกช่างไม้นั้น จึงวางบุรุษไว้กลางหน
ทาง ด้วยคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพวกเราหลับแล้ว หรือประมาทแล้ว
ในเวลา พึงเสด็จไป ครั้งนั้นพวกเราพึงได้เฝ้า. บทว่า เดินตามแล้ว
ความว่า ติดตามไปข้างพระปฤษฎางค์ ๆ แต่ไม่ไกล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จโดยทางพระบาทในท่ามกลางทางเกวียน.
พวกช่างไม้นอกนี้ ได้ติดตามไปทั้งสองข้าง บทว่า ทรงแวะจากหนทาง
ความว่า การทำปฏิสันถารแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ผู้เสด็จไปกับใคร ๆ ก็ควร
การทำปฏิสันถารของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ประทับยืนกับใคร ๆ ผู้ประทับนั่ง
ตลอดวันกับใคร ๆ ก็ควร เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริแล้ว
ว่า การทำปฏิสันถารของพระพุทธเจ้าผู้เสด็จไปกับคนพวกนี้ไม่ควรแล้ว การ
ทำปฏิสันถารของพระพุทธเจ้าผู้เสด็จไปกับคนผู้ยืนอยู่ไม่ควรแล้ว เพราะว่าชน
เหล่านี้ เป็นเจ้าของศาสนาของเรามีผลอันถึงแล้ว (เป็นพระสกทาคามี) เราจัก
นั่งทำปฏิสันถารตลอดทั้งวันกับคนพวกนี้ ดังนี้แล้ว จึงทรงแวะลงจากหนทาง
เสด็จเข้าไปหาทางทิศที่มีโคนไม้อยู่. บทว่า ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาด
ถวาย
ความว่า ถามว่าพวกช่างไม้ได้ให้ถือเอาร่ม รองเท้า ไม้เท้า น้ำมันทาเท้า

น้ำปานะ 8 อย่าง และบัลลังก์มีขาเหมือนเท้าสัตว์ไปแล้วหรือหนอ. ตอบว่า
ให้ปูบัลลังก์ที่เขานำมาถวายแล้ว. พระศาสดาประทับนั่งบนบัลลังก์นั้น.
บท ว่า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ความว่า พวกช่างไม้
กล่าวแล้วว่า พวกท่านจงถวายของที่เหลือมีร่มและรองเท้าเป็นต้น แก่ภิกษุ
สงฆ์. แม้ตนเองก็ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง คำทั้งหมดเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จจาริก
จากกรุงสาวัตถีไปในโกศลชนบท
พวกช่างไม้มีอิสิทัตตะเป็นต้น
กราบทูลแล้ว ด้วยอำนาจมัชฌิมประเทศนั่นเอง. เพราะเหตุไร จึงกำหนด
เพราะว่า การเที่ยวจาริกไปก็ดี การยังอรุณให้ตั้งขึ้นก็ดี ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พวกช่างไม้กล่าวแล้วด้วยอำนาจมัชฌิมประเทศ เพราะคำนั้นกำหนดแน่นอน ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมเสด็จจาริกไปในมัชฌิมประเทศนั่นเทียว พระองค์
ย่อมให้อรุณตั้งขึ้นในมัชฌิมประเทศ.
ในบทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักใกล้เราทั้งหลาย ความว่า พวก
ช่างไม้นั้นมีความยินดี เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ใกล้นั่นเทียว อย่างเดียว
หามิได้ ที่แท้แล พวกเขามีความดีใจว่า บัดนี้ เราจักได้ถวายทาน ทำการ
บูชาด้วยของหอมและระเบียบเป็นต้น (และ) ถามปัญหา. บทว่า คฤหบดี
ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ฆราวาสคับแคบ
ความว่า คฤหบดี
ทั้งหลาย เมื่อเราอยู่ไกล พวกท่านย่อมมีความเสียใจไม่น้อย เมื่อเราอยู่ใกล้
ก็ย่อมมีความดีใจไม่น้อย เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น พึงทราบคำนี้ว่า
ฆราวาสคับแคบ. ก็เพราะโทษของฆราวาส พวกท่านจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
ก็ถ้าเราละฆราวาสแล้วบวช. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดง
เนื้อความนี้ แก่ช่างไม้ชื่อว่าอิสิทัตตะนั้น จึงตรัสอย่างนี้ว่า เมื่อพวกท่านไปและ
มากับเราอย่างนี้ เหตุนั้นจึงไม่มี. พึงทราบความที่การอยู่ครองเรือนนั้นคับแคบ

เพราะอรรถว่า มีกิเลสเครื่องกังวล และ มีความห่วงใยในคำนั้น.
ก็ฆราวาสของผู้ที่อยู่ในที่อยู่อาศัยใหญ่ ชื่อว่าคับแคบ เพราะอรรถว่า มีกิเลสชาติ
เครื่องให้กังวล และมีความห่วงใย.
บทว่า เป็นทางมาแห่งธุลี ความว่า เป็นทางมาแห่งธุลี คือ ราคะ
โทสะ และโมหะ อธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่การมา. บทว่า บรรพชา
ปลอดโปร่ง
ความว่า บรรพชา ชื่อว่า ปลอดโปร่ง เพราะอรรถว่า ไม่มี
กิเลสชาติเครื่องกังวล และไม่มีความห่วงใย ก็บรรพชาของภิกษุสองรูปผู้นั่งคู้
บัลลังก์ในห้องแม้ 4 ศอก ชื่อว่า ปลอดโปร่ง เพราะอรรถว่า ไม่มีกิเลสชาติ
เครื่องกังวล และไม่มีความห่วงใย. บทว่า คฤหบดีทั้งหลาย ก็ท่านทั้งหลาย
ควรไม่ประมาท
ความว่า การที่พวกท่านอยู่เป็นฆราวาสที่คับแคบแล้ว
อย่างนี้ ควรทำความไม่ประมาทเทียว.
บทว่า พวกข้าพระองค์ จะให้พระชายาซึ่งเป็นที่โปรดปราน
นั่งข้างหน้าพระองค์หนึ่ง ข้างหลังพระองค์หนึ่ง
ความว่าได้ยินว่าชนแม้
ทั้งสองเหล่านั้น ให้หญิงเหล่านั้นที่ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง ประทับ
นั่งบนช้างสองเชือกเหล่านั้นอย่างนี้ ยืนช้างของพระราชาไว้ตรงกลาง แล้วไป
ในข้างทั้งสอง เพราะฉะนั้น พวกช่างไม้นั้นจึงกล่าวแล้วอย่างนี้. บทว่า แม้ช้าง
ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ต้องระวัง
ความว่า ช้างย่อมไม่ทำอะไร ๆ ให้เป็นอัน
เสพผิดแล้วฉันใด เป็นอันพึงรักษาไว้ฉันนั้น. บทว่า พระชายา แม้เหล่านั้น
ความว่า พระชายาเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงความประมาทโดยประการใด ย่อมเป็น
อันพึงรักษาโดยประการนั้น. บทว่า แม้ตน. ความว่า แม้ตนอันบุคคลผู้ไม่ทำ
กิริยามีการแย้ม การร่าเริง การกล่าว และการชำเลืองเป็นต้น ชื่อว่า เป็นอัน

พึงรักษา ตนแม้บุคคลกระทำอยู่อย่างนั้น เป็นอันพึงข่มว่า นาย เจ้านี่
ประทุษร้าย. คฤหบดีทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระราชาย่อมมอบให้
พวกท่านรับของหลวงเป็นนิจ เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น ฆราวาสคับแคบ
ชื่อว่า เป็นทางมาแห่งธุลี. ก็ภิกษุถือผ้าบังสุกุล เมื่อให้รับอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มี
เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น บรรพชา ชื่อว่า ปลอดโปร่ง. พระผ้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงว่า แม้บรรพชาก็เป็นอย่างนี้ คฤหบดีทั้งหลาย ก็ท่านทั้งหลาย
ควรไม่ประมาท คือทำความไม่ประมาทนั่นแล.
บทว่า มีจาคะอันปล่อยแล้ว ความว่า มีจาคะอันสละแล้ว. บทว่า
มีฝ่ามืออันชุ่ม ความว่า มีมืออันล้างแล้ว เพื่อประโยชน์แก่การให้แก่ผู้ที่
มาแล้วทั้งหลาย. บทว่า ยินดีในการสละ ความว่า ผู้ยินดีแล้วในการสละ
กล่าวคือการสละลง. บทว่า ควรแก่การขอ คือ ผู้ควรที่บุคคลพึงขอ.
บทว่า ยินดีในการจำแนกทาน ความว่า ผู้ยินดีแล้วในการจำแนกวัตถุ
ไร ๆ แม้มีประมาณน้อย ในทานนั่นเทียวที่ได้แล้วนั้น. บทว่า เฉลี่ยแบ่ง
ปันให้เท่า ๆ กัน
ความว่า ของทั้งปวงที่ไม่ทำการแบ่งอย่างนี้ว่า นี้จักเป็น
ของพวกเรา นี้จักเป็นของพวกภิกษุ เป็นของอันพวกเธอพึงให้ตั้งอยู่แล้ว.
จบอรรถกถาถปติสูตรที่ 1

9. เวฬุทวารสูตร



ว่าด้วยธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตน



[1454] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงพราหมณคามของชาวโกศลชื่อ
เวฬุทวาระ.
[1455] พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวาระได้สดับข่าวว่า พระ-
สมณโคดมผู้เป็นโอรสของเจ้าศากยะ. เสด็จออกผนวชจากศากยสกุล เสด็จ
เที่ยวจาริกไปโนโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึง
เวฬุทวารคามแล้ว ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้นขจรไป
อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระสมณโคดมพระองค์นั้น
ทรงกระทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วย
พระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมอันงามใน
เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ
ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์เห็นปานนั้น
เป็นความดี.